Quacquarelli Symonds (QS World University Rankings )

FLASH SALE
ฝากข่าว โดย :

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขับเคลื่อนให้เอ็มไอที เคมบริดจ์ และอิมพิเรียล ก้าวสู่ระดับความเป็นผู้นำในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Quacquarelli Symonds (QS World University Rankings )

การมุ่งเน้นด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบสูงในระดับโลกเป็น
ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของความเป็นผู้นำในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Quacquarelli Symonds (QS World University Rankings)

QS World University Rankings

นับเป็นปีที่สามแล้วที่เอ็มไอทีเป็นผู้นำในการจัดอันดับดังกล่าว โดยมีการอ้างอิงถึงต่อคณะเพิ่มขึ้นถึง 14% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน ก็มีการรายงานถึงการเพิ่มขึ้น 14% เช่นเดียวกันจากมาตรวัดนี้ โดยเปรียบเทียบกับเคมบริดจ์ซึ่งเพิ่มขึ้น 11% และ
ฮาร์วาร์ดซึ่งเพิ่มขึ้น 2% การเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยในมิตินี้ของมหาวิทยาลัยทั้ง 10 อันดับแรกอยู่ที่ 7% แคลเทคยังคงเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นของโลกที่มีการอ้างอิงถึงมากที่สุดในด้านการวิจัย

สถาบันทั้งสิบอันดับแรกได้รับคะแนนดีเยี่ยมในด้านชื่อเสียงทางการศึกษา ชื่อเสียงในการจ้างงาน อัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาต่อคณะ หรือมาตรการด้านคณะอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาต่างชาติ ผลการดำเนินงานของอิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน ในด้านของการมีการอ้างอิงถึงต่อคณะ ได้ช่วยให้สถาบันสามารถเลื่อนอันดับได้มากที่สุดในบรรดามหาวิทยาลัยสิบอันดับแรก โดยก้าวแซงฮาร์วาร์ด ยูซีแอล และอ๊อกฟอร์ด มาอยู่ที่อันดับสองของโลกร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ 

สิบอันดับแรกของโลก                                                                                                              

25572556สถาบันประเทศ
11สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที)สหรัฐอเมริกา
2=3มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์สหราชอาณาจักร
2=5อิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอนสหราชอาณาจักร
42มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา
5=6มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดสหราชอาณาจักร
5=4ยูซีแอล (ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน)สหราชอาณาจักร
77มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสหรัฐอเมริกา
810สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค)สหรัฐอเมริกา
910มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันสหรัฐอเมริกา
108มหาวิทยาลัยเยลสหรัฐอเมริกา
© QS Quacquarelli Symonds 2004-2014 www.TopUniversities.com/rankings2014

ทั้งนี้ มีทั้งหมด 31 ประเทศที่ติดอันดับในจำนวน 200 อันดับแรก โดยสหรัฐฯ เป็นประเทศในระดับแนวหน้าด้วย 51 สถาบัน นำหน้าสหราชอาณาจักร (29) เยอรมนี (13) เนเธอร์แลนด์ (11) แคนาดา (10) ญี่ปุ่น (10) และ ออสเตรเลีย (8)

สำหรับสถาบันที่เลื่อนอันดับได้เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 สิบสถาบันแรกคือ เอ็มไอที มหาวิทยาลัยซุงคยุนควัน (เกาหลี) อีพีเอฟแอล (สวิตเซอร์แลนด์) สแตนฟอร์ด แอลเอ็มยู มึนเชิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (สิงคโปร์) มหาวิทยาลัยโคเรีย มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (จีน) ควีนแมรี่ มหาวิทยาลัยลอนดอน และ อีทีเอช ซูริค โดยแปดสถาบันจากจำนวนนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“ในยุคแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซา แหล่งเงินทุนของทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างก็มุ่งเน้นความสำคัญมากยิ่งขึ้นที่การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่ส่งผลกระทบสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการในสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ” เบน เซาว์เตอร์ หัวหน้าฝ่ายการวิจัยของ QS กล่าว “สถาบันที่เน้นด้านเทคโนโลยีต่างๆ กำลังเพิ่มการมุ่งเน้นไปที่การแข่งขันเพื่อความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในระดับโลก ด้วยงบประมาณของแหล่งเงินทุนภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเหมือนว่าสถาบันเหล่านี้จะมุ่งเน้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมในการทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ ซึ่งมีแนวโน้มในการสร้างรายได้สูง”

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS ทำให้เราได้เห็นถึงวิวัฒนาการของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานนับศตวรรษ ซึ่งช่วยชี้แนวทางให้แก่บรรดาผู้บริหารสถาบันการศึกษา รวมทั้งนักศึกษาทั้งหลายที่ QS มีความมุ่งมั่นในการให้บริการแก่พวกเขา

อินโฟเควสท์ เป็นสำนักข่าวออนไลน์ ด้านเศรษฐกิจและการเงิน ข่าวสารจากสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เว็บไซต์ และโซเชียลมีเดีย ผลิตและรายงานข่าวเศรษฐกิจ หุ้น การเงิน การลงทุน และข่าวต่างประเทศในรูปแบบเรียลไทม์ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุน