หนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจ คือ หนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจฝ่ายหนึ่ง มอบอำนาจให้ ผู้รับมอบอำนาจคนเดียว หรือหลายคน ดำเนินการ ธุระ กิจกรรมอย่างใดอย่างใหนึ่ง ไม่ว่าเรื่องใดๆ เช่น การมอบอำนาจทางการเงิน มอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่แทน มอบอำนาจให้ดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งการกระทำเหล่านี้ ผู้รับมอบอำนาจจะเป็นผู้ดำเนินการในนามของผู้มอบอำนาจ กล่าวคือ เสมือนว่าผู้มอบออำนาจเป็นผู้ดำเนินการเอง ผลผูกพันทางกฎหมายหมาย นิติกรรมสัญญา ต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจนั้น ย่อมมีผล และผูกพันผู้มอบอำนาจทั้งสิ้น โดยผู้มอบอำนาจอาจกำหนดเงื่อนไข หรือระยะเวลา เริ่มต้นและสิ้นสุดได้ ทั้งนี้ อาจให้สิทธิแก่ผู้รับมอบอำนาจไปอาจมอบอำนาจช่วงให้แก่บุคคลอื่นเพื่อดำเนินการที่มอบอำนาจต่อได้ ทั้งนี้การมอบอำนาจ อาจมีหรือไม่มีบำเหน็จก็ได้ขึ้นอยู่กับความตกลงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ดาวน์โหลด หนังสือมอบอํานาจ
สามารถ ดาวน์โหลด หนังสือมอบอํานาจ ได้จากลิ้งนี้
แจกฟรี แบบฟอร์มหนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอํานาจ .pdf
ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ ของบุคคลรับอนุญาต (กรณีผู้มีอำนาจลงนามไม่มายื่นด้วยตนเอง) .docx Word
Download : ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ
ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอํานาจ แบบฟอร์มหนังสือมอบอํานาจ มีหลายประเภท เช่น หนังสือมอบอํานาจทั่วไป ติดอากรแสตมป์ ,หนังสือมอบอํานาจ สรรพากร,หนังสือมอบอํานาจ ขนส่ง, หนังสือมอบอํานาจ ที่ดิน ให้บุคคล , หนังสือมอบอํานาจ บริษัท เป็นต้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหนังสือมอบอํานาจ
การมอบอำนาจ อยู่ภายใต้กฎหมายตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความผูกพันระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ รวมถึงบุคคลภายนอกด้วย ซึ่งในบางเรื่อง เช่น บำเหน็จ การมอบอำนาจช่วงต่างๆ สามารถตกลงให้แตกต่างไปได้ แต่ในบางเรื่องที่เป็นสาระสำคัญของการมอบอำนาจ เช่น ความผูกพันของตัวการต่อบุคคลภายนอก ที่ตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจ จะตกลงให้มีผลแตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้
สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ที่กฎหมายตัวแทนกำหนดไว้ เช่น ผู้รับมอบอำนาจจะดำเนินกิจการ หรือกิจกรรมไปในทางที่มีผลประโชยน์ขัดกัน ระหว่างผลประโยชน์ของผู้มอบอำนาจ และผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้รับมอบไม่ได้ เช่น การที่ผู้รับมอบอำนาจได้รับมอบอำนาจให้สรรหาและมีอำนาจจัดซื้อที่ดิน และผู้รับมอบอำนาจนั้นก็เป็น ผู้ขายที่ดิน ดังกล่าวให้กับผู้มอบอำนาจ โดยผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาซื้อที่ดิน (กรมที่ดิน)ในนามผู้มอบอำนาจในฐานะตัวผู้รับมอบอำนาจฝ่ายหนึ่ง และกับตนเองในฐานะผู้ขายที่ดิน อีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ กฎหมายก็กำหนดห้ามไว้ เว้นแต่ ผู้รับมอบอำนาจยินยอมในการดำเนินการดังกล่าว หรือความรับผิดของผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่ผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือกิจกรรมที่มอบอำนาจนั้นโดยประมาทเลินเล่อ กระทำโดยเกินขอบเขตอำนาจที่มอบ หรือไม่กระทำปฏิบัติหน้าที่ตามสมควร ที่แก่การที่ได้รับมอบอำนาจ สิทธิยึดหน่วงของผู้รับมอบอำนาจในทรัพย์สินของผู้มอบอำนาจ ในกรณีที่ยังไม่รับชำระหนี้ครบถ้วน อันเป็นผลจากดำเนินการตามหนังสือมอบอำนาจ เช่น ผู้รับมอบอำนาจยังค้างค่าบำเหน็จ เงินสำรองจ่ายที่ผู้รับมอบอำนาจ ได้ออกไปก่อนเพื่อดำเนินการตามการที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนั้น ในการดำเนินการที่มอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ จะต้องดำเนินการ ภายในขอบเขตที่มอบอำนาจเท่านั้น และเป็นไปตามคำสั่งและเจตนารมณ์ของผู้มอบอำนาจ นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน ที่บุคคลในระดับเดียวกันกับผู้รับมอบอำนาจพึงกระทำด้วย
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้รับมอบอำนาจกระทำการเกินขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบไว้ การกระทำส่วนที่เกินย่อมไม่ผูกพันผู้มอบอำนาจ แต่จะผูกพันตัวผู้รับมอบอำนาจเสียเอง ซึ่งผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบ และผูกพันการนั้นเอง เว้นแต่ผู้มอบอำนาจได้มีการให้สัจยาบันในภายหลัง
หนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป .pdf Download หนังสือมอบอำนาจ แบบฟอร์มหนังสือมอบอํานาจ ได้จากลิ้งด้านบน
DOA คือ Delegation of Authority
แหล่งที่มา : กรมที่ดิน 2566