การใช้ปุ๋ยชีวภาพอีเอ็มเบื้องต้น : EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

FLASH SALE
ฝากข่าว โดย :

EM จุลินทรีย์

          EM (Effective Microorganism) คือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพโดยการรวมเอาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจากธรรมชาติ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ทั้งหมด 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปิชี่ โดย ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวนจากมหาวิทยาลัยริวกิวประเทศญี่ปุ่น สามารถค้นพบการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ชอบอากาศ (Aerobic bacteria) และจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ชอบอากาศ (Amaerobic bacteria) โดยได้เลือกจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตเจนในอากาศได้ (Azoto bacter) และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosythertic bacteria) จุลินทรีย์ 2 กลุ่มนี้สามารถอยู่รวมกันได้เพราะต่างก็อาศัยด้วยการแลกอาหารซึ่งกันและกัน

พื้นฐานการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มแบบน้ำ

  1. การขยายอีเอ็มเพื่อใช้ทันที เตรียมขยายอีเอ็มในอัตราส่วนอีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด (1/1/1,000)

วัสดุ

อีเอ็ม 1 ซีซี หรือ 1 ช้อนโต๊ะ

กากน้ำตาล 1 ซีซี หรือ 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด 1 ลิตร หรือ 10 ลิตร

  1. การขยายเพื่อใช้กับการปลูกพืช

2.1 เตรียมภาชนะที่สะอาด เช่น ปิ๊บขนาด 20 ลิตร บรรจุน้ำสะอาดเต็มปิ๊บ เติมอีเอ็ม 2 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ (อีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด 1/1/1,000) ผสมส่วนให้เข้ากันแล้วสามารถใช้ได้ทันที เช่น ใช้ในการทำโบกาฉิในปุ๋ยหมักในสูตรต่างๆ ทุกครั้งที่ใช้อีเอ็มจะต้องขยายก่อนดังนี้ทุกครั้งไปใช้ฉีดพ่นรดพืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ เดือนละ 2 ครั้ง ขยายฉีดพ่นข้าวเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับไม้ผลขยายอีเอ็มฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง งดการฉีดพ่นในระยะไม้ผลออกดอก การใช้อีเอ็มเพื่อใช้กับสัตว์เลี้ยงใช้อีเอ็มขยายให้กับสัตว์เลี้ยงกิน อีเอ็ม/น้ำสะอาดอัตราส่วน 1/5,000-10,000

2.2 เตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะขนาด 5 ลิตร แล้วหยดอีเอ็มลงใส่ 1 ซีซี หรือขนาดภาชนะใส่น้ำสะอาดถัง 200 ลิตร เติมอีเอ็มลง 4-10 ช้อนโต๊ะ เอาน้ำที่มีอีเอ็มไปให้สัตว์เลี้ยงจะไม่ส่งกลิ่นเหม็น และมูลของสัตว์เลี้ยงที่กินอีเอ็มมีคุณสมบัติเหมือนโบกาฉินำไปใช้กับการปลูกพืชทุกชนิดเป็นพืชผักที่มีคุณภาพเจริญเติบโตได้เร็วดีเป็นพิเศษ แตกต่างจากมูลสัตว์ธรรมดาโดยทั่วๆ ไป การใช้อีเอ็มแก่สัตว์เลี้ยงกินห้ามผสมกากน้ำตาล เพราะถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงกินไม่หมด เมื่อเกินระยะเวลา 3 วัน จะเป็นผลเสียแก่สัตว์เลี้ยงได้

2.3 ขยายอีเอ็มเพื่อฉีดพ่นหรือล้างคอก เพื่อขจัดกลิ่นเน่าเหม็นให้หมดไป เช่น คอกสุกร ขยายอีเอ็มในอัตราส่วน อีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด (1/1/1,000) น้ำอีเอ็มที่ขยายฉีดพ่นอย่าใช้ให้หมดเหลือไว้ประมาณ 1/4 ของภาชนะ เติมน้ำลงไปอีกจนเต็มภาชนะอันเดิมแล้วเติมกากน้ำตาลลงอีกเท่ากับที่ใส่ลงครั้งแรกการขยายของอีเอ็มจะเกิดขึ้นอีกครั้งหมักต่อไว้อีก 1-3 วัน นำน้ำไปฉีดพ่นล้างออก เพื่อดับกลิ่นให้หายไปได้อย่างประหยัดภาชนะที่ใช้หมักต้องสะอาด น้ำที่ใช้ต้องสะอาด มีฝาปิด เช่น การหมักขยายใส่ภาชนะขนาด 200 ลิตร เติมอีเอ็ม 20 ช้อนโต๊ะ ควรหมักขยายต่อเชื้ออย่างต่อเนื่องไม่เกิน 4 ครั้ง แล้วจึงใช้ให้หมด ล้างภาชนะให้สะอาดจึงเริ่มต้นขยายใหม่EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

การทำฮอร์โมนธรรมชาติจากยอดพืช

วัสดุ      1. ยอดพืช 4 กก. ยอดยูคาลิปตัส 1 กก. ยอดสะเดา 1 กก.

  1. ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร
  2. จุลินทรีย์อีเอ็ม 200 ซีซี (1 แก้ว)
  3. กากน้ำตาล 200 ซีซี (1 แก้ว)
  4. น้ำสะอาดประมาณ 15 ลิตร

วิธีทำ EM จุลินทรีย์

วิธีทำ    1. เก็บยอดพืชตอนเช้าตรู่ 6 กก. เช่น ฮอร์โมนใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว ใช้ยอดผักบุ้ง ยอดพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ ฮอร์โมนใช้กับไม้ผล ใช้ยอดมะม่วง ขนุน ฯลฯ ฮอร์โมนใช้ในนาข้าวใช้ยอดหญ้าใบข้าว ใบไผ่ ฯลฯ แล้วนำยอดพืชล้างให้สะอาดบรรจุลงในถัง

  1. เติมอีเอ็มและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
  2. เติมน้ำสะอาดลงในถังเกือบเต็มให้มีช่องอากาศประมาณ 4 ซม. เอาพลาสติกปิดปากถังแล้วเอายางรัดไม่ให้อากาศเข้า-ออกได้ ปิดปากถังให้การหมักมืดคลุมทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
  3. เมื่อการหมักครบ 10 วัน บรรจุลงขวดประมาณ 1 ลิตรได้ประมาณ 15 ขวด มีอายุการเก็บรักษาได้ 3 เดือน

วิธีใช้     1. นำฮอร์โมนยอดพืช 40 ซีซี (4 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำ 20 ลิตร (1 ปิ๊บ) รดฉีดพ่น

  1. ใช้กับพืชผักสวนครัว รดหรือฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  2. ใช้กับไม้ผล ไม้ยืนต้น รดหรือฉีดพ่นทุกๆ 30 วัน หลังเก็บเกี่ยวช่วงไม้ผลออกดอกห้ามฉีด ไม้ผลที่ดอกยังไม่บานฉีดพ่นได้
  3. ฮอร์โมนที่ดีต้องมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว และมีราสีขาวอยู่ผิวหน้า ถ้าฮอร์โมนมีกลิ่นเหม็นห้ามนำมาใช้กับพืชจะทำให้พืชตายได้

หมายเหตุ:   วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ดังนี้ ใช้แทนกากน้ำตาล 1 ช้อน (กรณีไม่ใช้กากน้ำตาล) เช่น

–  จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำอ้อย 2 ก้อน+น้ำ 10 ลิตร

–  จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำซาวข้าว 4 แก้ว+น้ำ 10 ลิตร

–  จุลินทรีย์ 1 ช้อน+นมข้นหวาน 2 ช้อน+น้ำ 10 ลิตร

–  จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำเปรี้ยว 2 ช้อน+น้ำ 10 ลิตร

–  จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำปัสสาวะ 1 แก้ว+น้ำ 10 ลิตร

ผลดีจากการใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์

  1. ดินโปร่งร่วนซุยใช้ติดต่อกัน 4 ปี หยุดใช้ 1 ปี ใน 5,6,7… ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ลงตามความเหมาะสม
  2. ทำให้ กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ กลับคืน
  3. ให้ลดปริมาณปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ลงในปี 3,4 และ 5 ปีละ 15 % ผลผลิตจะคงที่หรือสูงขึ้น
  4. ปัญหาการเกิดโรคของต้นข้าวจะหมดไป ในปีที่ 2,3,4
  5. เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยได้เอง และลดค่าใช้จ่าย โดยการทำเกษตรแบบยั่งยืน และพึ่งพาตนเองได้

Related Posts