ระบบ e-GP คืออะไร ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ มีประโยชน์อย่างไร

FLASH PRESS
ฝากข่าว โดย :

e-GP

รบบ e-GPระบบ e-GP (Electronic Government Procurement: e-GP)
e-GP คือ ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e-GP) เป็นระบบที่จัดทำขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและพัสดุภาครัฐได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ทั่วถึง เป็นศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีระบบบริหารจัดการรหัสสินค้าและบริการภาครัฐ เก็บข้อมูลของหน่วยจัดซื้อและข้อมูลผู้ค้าสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบต่างๆ เชื่อมต่อข้อมูลกับแหล่งข้อมูลภายนอกที่เกี่ยวข้อง และเป็นต้นแบบการประมูลด้วยอิเล็กทรอนิกส์ที่ครบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติตามระเบียบ ลดความซ้ำซ้อนการบันทึกข้อมูล ซึ่งฝ่ายบริหารสามารถติดตามข้อมูลได้แบบ Online Real Time ในระบบ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณได้

ประโยชน์ของระบบ e-GP

  • เกิดความโปร่งใสในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และการใช้งบประมาณของรัฐได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ลดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เนื่องจากระบบจะเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานไว้ทุกขั้นตอน
  • เกิดความสะดวกและความทั่วถึงอย่างเท่าเทียมของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ค้ารายใหม่สามารถเข้าร่วมจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น
  • เกิดศุนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระดับประเทศที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
  • กระตุ้นตลาดและเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคเอกชนทำให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริงในการเสนอราคา
  • ปรับปรุงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
มาตรา 46 ให้กรมบัญชีกลางมีหน้าทีในการดูแลและพัฒนา ระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประกาศเผยแพร่ขอมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าตรวจดูได

การดําเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐดวยอิเล็กทรอนิกส์ (eGP)

การดําเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และ การบริหารพัสดุตามระเบียบนี้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดให้หน่วยงานของรัฐใช้เอกสาร ที่จัดพิมพ์ขึ้นจากระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารประกอบการดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างระบบ e-GP

วัตถุประสงค์ของ e-GP ระยะที่ 5

  • เพื่อเพิมประสิทธิภาพระบบ  e-GP รองรับปริมาณการใช้งานทีมากขึ้น และรองรับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
  •  เพื่อปรับปรุงระบบ e-GP ให้รองรับขั้นตอนที่ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ระเบียบ กฎกระทรวง และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
  • เพื่อพัฒนาระบบ e-GP ให้รองรับเทคโนโลยี Cloud และรองรับการทํางาน แบบ Micro Service ให้ระบบ e-GP มีความคล่องตัว
  • เพื่อสร้างความคล่องตัวและเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ e-GP ในระยะยาวขัอมูลเพิ่มเติม แนวทางการปฏิบัติงานในระบบ e-GP ระยะ 2 เพิ่มเติมครั้งที่ 1 กรณีการจ้างเหมาบริการที่เป็นการจ้างบุคคลธรรมดา (หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค0421.4/ว82 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556)

กรณีการจ้างเหมาบริการที่เป็นการจ้างบุคคลธรรมดา และระบบ GFMIS ได้ยกเว้นให้ไม่ต้องจัดทำ PO จึงไม่มีการเบิกจ่ายตรงเข้าบัญชีผู้รับจ้าง ข้อมูลส่วนนี้ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ e-GP กับระบบ GFMIS ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการในเรื่องการจ้างเหมาบุคคลธรรมดาไว้ปฏิบัติงานทั้งในระบบ e-GP และระบบ GFMIS เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อความคล่องตัวของการปฏิบัติงานในระบบ e-GP และเพื่อลดภาระการบันทึกข้อมูลของหน่วยงาน จึงให้หน่วยงานที่ดำเนินการจัดจ้างเหมาบุคคลธรรมดา ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0421.4/ว 294 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ไม่ต้องดำเนินการในระบบ eGP

รวบรวมข้อมูลจาก กรมบัญชีกลาง ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
gprocurement.go.th
PR Thai Government