การเบิกประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และความคุ้มครอง การเบิกค่าชดเชยต่างๆ ที่ครอบคลุม

FLASH PRESS
ฝากข่าว โดย :

การเบิกประกัน พ.ร.บ.

สิ่งสำคำที่หลายคนมองข้ามคือ ควรเก็บเอกสาร พ.ร.บ. เอาไว้ในรถ หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้นำมาใช้ได้ทันที ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้รีบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเร็ว และติดต่อบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ที่ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อแจ้งเหตุการณ์และเพื่อการเคลมประกัน แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน โดยเอกสารบันทึกประจำวันจะเป็นหลักฐานในการขอเบิก พ.ร.บ. อีกด้วย และ พ.ร.บ. จะคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นรวมถึงค่าสินไหมทดแทนภายใน 7 วัน และการเบิก พ.ร.บ. จะต้องดำเนินการภายใน 180 วัน หรือ 6 เดือน นับจากวันที่เกิดเหตุประกัน พ.ร.บ.

เอกสารที่ใช้เบิกประกัน พ.ร.บ.

กรณีบาดเจ็บ เบิกค่ารักษาพยาบาล

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

กรณีเบิกค่าชดเชย นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  • ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ และ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

กรณีเสียชีวิต

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
2. ใบมรณบัตร
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

สรุป เอกสารที่ใช้เบิกประกัน พ.ร.บ.

    • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
    • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
    • ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
    • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.

    ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์

    เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนดังนี้
    ค่าเสียหายเบื้องต้น

    • ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) เบิกได้คนละ 35,000 บาท
    • ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท

    ค่าสินไหมทดแทน
    ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์ว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ดังนี้

    • ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสินเชิง คนละ 500,000 บาท
    • กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 500,000 บาท
    • กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย คนละ 250,000 บาท
    • กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 200,000 บาท
    • ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย คนละ 300,000 บาท
    •  กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)