ผลวิจัยถึงวิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยา(AMR) คาดทำคนตาย 40 ล้านคนในปี 93

ฝากข่าว โดย :

การดื้อยาต้านจุลชีพ

มีผลวิจัยสหรัฐฯ ที่น่าสนใจออกมาเกี่ยวกับวิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยา คาดทำคนตาย 40 ล้านรายในปี 93 แล้วการดื้อยาต้านจุลชีพ คืออะไร?Antimicrobial Resistance

Antimicrobial Resistance

Antimicrobial Resistance (AMR) หรือ การดื้อยาต้านจุลชีพ คือ ภาวะที่เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา หรือปรสิต พัฒนาความสามารถในการทนทานต่อยาต้านจุลชีพ เช่น ยาปฏิชีวนะ (antibiotics), ยาต้านไวรัส (antivirals), และยาต้านเชื้อรา (antifungals) ที่เราใช้รักษาโรคติดเชื้อได้
ปกติเมื่อคนติดเชื้อและได้รับยา ยาจะช่วยฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ แต่เมื่อเชื้อเหล่านี้เกิดการดื้อยา ยาต้านจุลชีพที่เคยใช้ได้ผลจะไม่สามารถทำลายเชื้อได้เหมือนเดิม ทำให้การรักษาโรคยากขึ้น บางครั้งอาจต้องใช้ยาที่แรงขึ้น มีผลข้างเคียงมากขึ้น หรือแม้กระทั่งอาจไม่มียารักษา

สาเหตุสำคัญของการเกิดดื้อยา

การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างผิดวิธี เช่น ใช้ยามากเกินไป ใช้ยาไม่ครบตามที่แพทย์สั่ง
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่จำเป็น เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะกับโรคไวรัสที่ไม่ตอบสนองต่อยาเหล่านี้
ผลกระทบของการดื้อยาคือการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่รักษายากขึ้น และทำให้การรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ ยุ่งยากและเสี่ยงอันตรายมากขึ้น

ซึ่งหัวหน้าทีมวิจัยเกี่ยวกับภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตันในสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลวิจัยในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซต (The Lancet)ของอังกฤษ ตัวเลขผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ(AMR) หรือยาปฏิชีวนะจะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ภายในปี 2593

Ref: www.ox.ac.uk/news/2024-09-17-antibiotic-resistance-has-claimed-least-one-million-lives-each-year-1990