เรื่องน่ารู้สำหรับคนไทย เมล็ดพันธุ์และภาคการเกษตรของไทยเป้นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ฮับเมล็ดพันธูแห่งเอเซีย และครัวของโลกที่มีคุณภาพ ทีดีอาร์ไอ คาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อเนื่องไปในอีก 10 ปีข้างหน้า
นายพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กล่าวว่า ปัจจุบันมีแบรนด์เมล็ดพันธุ์ในท้องตลาดกว่า 500 แบรนด์ และร้านค้าทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทางสมาคมฯ ได้ศึกษาวิจัยและกำหนดอายุเมล็ดพันธุ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจรวม 37 ชนิด ภายใต้สภาพแวดล้อมอุณหภูมิของสถานที่จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ในที่ร่มประมาณ 30 องศาเซลเซียสและมีบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันความชื้นได้ วัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลทางวิชาการของแต่ละหน่วยงานที่ศึกษาเกี่ยวกับอายุเมล็ดพันธุ์มาสรุปและประกาศมาตรฐานอายุของเมล็ดพันธุ์พืช 37 ชนิด เพื่อเสริมสร้างคุณภาพมาตรฐานของเมล็ดพันธุ์ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ช่วยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลอายุเมล็ดพันธุ์บนฉลากที่ถูกต้องซึ่งมีผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก ช่วยเกษตรกรลดความเสี่ยงจากปัญหาเมล็ดพันธุ์คุณภาพต่ำ และส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานของวงการเมล็ดพันธุ์ของไทยและสนองตอบนโยบายของภาครัฐในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซีย ด้วย
มาตรฐานอายุของเมล็ดพันธุ์พืช 37 ชนิด ครอบคลุมเมล็ดพันธุ์ควบคุมจำนวน 29 ชนิด ที่ทางราชการกำหนดตามพรบ.พันธุ์พืชพ.ศ.2518 ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเขียวเมล็ดดำ ถั่วเหลืองข้าวโพดหวาน ฝ้าย ข้าวโพดหวาน คะน้า แตงกวา ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว ผักบุ้งจีน พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโคลี ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ แตงโม กระเทียมใบ ผักชี ปาล์มน้ำมัน ทานตะวัน และพืชสำคัญทางเศรษฐกิจอีก 8 ชนิด คือ มะระ ฟัก/แฟง มะเขือยาว มะเขือเปราะ กระเจี๊ยบเขียว ฟักทอง บวบเหลี่ยม และแคนตาลูป ทั้งที่เป็นประเภทเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย หรือ O.P. (Open Pollinated Seed) หมายถึงเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการขยายพันธุ์จากแปลงเพาะปลูกที่ปล่อยให้มีการผสมเกสรในตัวเองหรือการผสมข้ามระหว่างต้นในพันธุ์เดียวกัน และสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ต่อไปได้ และประเภทเมล็ดพันธุ์ลูกผสม หรือ Hybrid ที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แท้ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในเชิงการค้า เนื่องจากให้ผลดีกว่า ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์ผสมปล่อย ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์พืชผักจะเป็นลูกผสม ไฮบริดเสียส่วนใหญ่
มาตรฐานอายุเมล็ดพันธุ์มีดังนี้
อายุเมล็ดพันธุ์ | |||||
ลำดับ | ชนิดพืช | ประเภทพันธุ์ลูกผสม (Hybrid) | ประเภทพันธุ์ผสมปล่อย (O.P.) | ||
ปี | เดือน | ปี | เดือน | ||
1 | ข้าวเปลือกเจ้า | 2 | 2 | ||
2 | ข้าวฟ่าง | 18 | |||
3 | ข้าวโพด | 18 | |||
4 | ข้าวโพดข้าวเหนียว | 1 | 1 | ||
5 | ข้าวโพดฝักอ่อน | 18 | |||
6 | ถั่วเขียว | 1 | |||
7 | ถั่วเขียวเมล็ดดำ | 1 | |||
8 | ถั่วเหลือง | 6 | |||
9 | ข้าวโพดหวาน | 6-8 | 9 | ||
10 | คะน้า | 2 | 1 | ||
11 | แตงกวา | 2 | 1 | ||
12 | ถั่วลันเตา | 6 | |||
ลำดับ | ชนิดพืช | อายุเมล็ดพันธุ์ | |||
ประเภทพันธุ์ลูกผสม (Hybrid) | ประเภทพันธุ์ผสมปล่อย (O.P.) | ||||
ปี | เดือน | ปี | เดือน | ||
13 | ผักกาดขาว | 2 | 1 | ||
14 | ผักกาดเขียว | 2 | 1 | ||
15 | ผักกาดหัว | 2 | 1 | ||
16 | ผักบุ้งจีน | 1 | |||
17 | พริก | 2 | 1 | ||
18 | พริกหวาน | 18 | 1 | ||
19 | มะเขือเทศ | 2 | 1 | ||
20 | ถั่วฝักยาว | 2 | |||
21 | กะหล่ำปลี | 2 | 1 | ||
22 | กะหล่ำดอก | 2 | 1 | ||
23 | บรอคโคลี | 2 | 1 | ||
24 | ผักกาดกวางตุ้ง | 2 | 1 | ||
25 | ผักกาดหอม | 1 | |||
26 | แตงโม | 2 | 1 | ||
27 | กระเทียมใบ | 6 | |||
28 | ผักชี | 1 | |||
29 | ทานตะวัน | 1 | |||
30 | มะระ | 18 | 1 | ||
31 | ฟัก/แฟง | 2 | 1 | ||
32 | มะเขือยาว | 2 | 1 | ||
33 | มะเขือเปราะ | 2 | 1 | ||
34 | กระเจี๊ยบเขียว | 2 | 1 | ||
35 | ฟักทอง | 2 | 1 | ||
36 | บวบเหลี่ยม | 2 | 1 | ||
37 | แคนตาลูบ | 2 | 1 |
สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) ยังได้จัดโครงการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้บริษัทผู้จำหน่ายและร้านค้าเมล็ดพันธุ์ ได้ยึดใช้เป็นแนวทางเดียวกัน ได้แก่ ความรู้การดูแลจัดเก็บเมล็ดพันธุ์สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของเมล็ดเพื่อให้คงคุณภาพและนำไปเพาะปลูกต่อได้ โดยควรอยู่ในที่ร่ม อุณหภูมิในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต้องมีความเหมาะสมที่ 30 องศาเซลเซียส รวมทั้งเสริมความรู้เกี่ยวกับชนิดพืช พันธุกรรมพืช เพื่อให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร