ลัดดา กรุ๊ป เปิดตัวระบบน้ำหยด GOLDENDRIP และ NEIN

FLASH PRESS
ฝากข่าว โดย :

บริษัท เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือลัดดา กรุ๊ป ได้ศึกษาปัญหาพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อาทิ อุณหภูมิที่ปรวนแปรอย่างรวดเร็ว ฝนตกผิดฤดูกาล ภาวะแล้งจากฝนทิ้งช่วง พื้นดินขาดความชุมชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีปริมาณ และคุณภาพต่ำ แคระแกร็น โดยปกติส่วนใหญ่ภัยแล้งมักเกิดในช่วงฤดูฝน ปลายเดือนมิ.ย.ถึงเดือน ต.ค. ที่ฝนมักทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน และช่วงฤดูหนาวเดือน ต.ค. ต่อเนื่องยาวจนถึงฤดูร้อน เดือนพ.ค. ในด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ปริมาณน้ำลดลง ขาดแคลนน้ำ ความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง และด้านสังคม ทำให้เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำและการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบน้ำหยด จะช่วยให้เกษตรกรมีการวางแผนการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดต้นทุนและใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างคุ้มค่า

ดร.สุจินต์ จันทร์สอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด ให้ความเห็นว่า” เบสซอ เอ็นจิเนียร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีน้ำหยดในประเทศไทย เสนอทางเลือกในการใช้ระบบน้ำหยดในการจ่ายน้ำให้กับพืช เพราะระบบน้ำหยดสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้ได้มาก ทั้งยังได้มีการพัฒนาวิจัยออกแบบและติดตั้งระบบน้ำหยด โดยคำนึงถึงพืชที่ปลูกเป็นสำคัญ อย่างในปาล์มน้ำมัน ที่มีความต้องการน้ำประมาณ 400 ลิตรต่อต้นต่อวันนั้น การคำนวณหาปริมาณการใช้น้ำของปาล์มน้ำมันต่อพื้นที่ไร่ที่จะใช้ทั้งหมด จะนำมาคำนวณหาขนาดของปั๊มน้ำและท่อการส่งน้ำด้วย

 ข้อดีของระบบน้ำหยด แม้ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะเริ่มแรก แต่มีความคุ้มค่าและส่งผลดีต่อพืชผลการเกษตรอย่างมากมาย เช่น 1.ประหยัดน้ำมากกว่าในทุก ๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกลอร์ หรือวิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูได้  2.ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ โดยลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่ให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ Manual และ Automatic หรือ Micro Controller โดยเฉพาะระบบตั้งเวลาและตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง  3.ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน  ดินทราย  ดินเหนียว  ดินเค็ม และดินด่างด้วย น้ำหยดจะไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน  4.ใช้กับพืชประเภทต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพืชที่ต้องการน้ำขัง  5.เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด  6.ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลอร์แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์  7.ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า สามารถใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ  8.ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช  9.ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ขณะเดียวกันประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า  10.สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อม ๆ กัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (Injector) เข้ากับระบบการจ่ายน้ำด้วย “

นายภูวนิตย์  จีนะวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บ. เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จก.กล่าวว่า “ระบบน้ำหยดที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมเกษตรอย่างแพร่หลาย มี 2 แบบ คือ 1.ระบบท่อน้ำหยด (DRIPLINES) เทคโนโลยีการชลประทาน ด้วยการนำมาวางระบบบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตร เป็นการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยดแก่พืช ซึ่งถูกติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอในอัตราเฉลี่ย 1-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 0.8-2 บาร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบ  ชนิดของพืช  ขนาดของพื้นที่  และชนิดของดิน ช่วยทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสมตลอดเวลา ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับพืชทุกประเภท ทั้งพืชล้มลุก พืชไร่ เช่น มะเขือ แตงกวา สตอเบอรี่ พริก แตงโม แคนตาลูป อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น ระบบน้ำหยดสามารถให้ปุ๋ย และสารเคมีทางระบบน้ำ โดยการละลายปุ๋ยจ่ายไปตามท่อน้ำ ประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ผลผลิตสูง ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงทำให้มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด ทำให้มีกำไรสูง อีกทั้งช่วยลดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช เป็นต้น

ท่อน้ำหยดที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการเกษตร มีให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับประเภทพืชเกษตร 4 แบรนด์ คือ อาดริเทป (Adritape) เหมาะกับกลุ่มพืชล้มลุก  ซุปเปอร์ไลท์ (Superlite) เหมาะกับกลุ่มพืชที่ปลูกเป็นแถวหรือพืชที่ปลูกในโรงเรือน  ซิลเวอร์ดริป (Sliverdrip) เหมาะกับกลุ่มพืชล้มลุก  และใหม่ล่าสุด คือ โกลเดนดริป (Goldendrip) เหมาะกับไร่อ้อยและมันสำปะหลัง หรือกลุ่มพืชที่ปลูกเป็นแถวหรือพืชที่ปลูกในโรงเรือน นอกจากนี้ท่อน้ำหยดทั้ง 4 ชนิด ยังเหมาะสมกับการใช้ในกลุ่มพืชไร่ด้วย ทั้งรูระยะน้ำหยดที่แตกต่างกัน อัตราการไหลของน้ำจะสม่ำเสมอ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับงานเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ ในการเลือกอัตราการไหลของหัวน้ำหยด แรงดันเหมาะสมอยู่ที่ 0.8 – 1.0 บาร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ หากมีแหล่งน้ำที่ดีเก็บกักปริมาณน้ำมาก สามารถเลือกหัวน้ำหยดที่มีอัตราการไหลสูง ๆ ได้

2.ผลิตภัณฑ์ใหม่ หัวน้ำหยด นายน์ (Nien) เป็น หัวน้ำหยด (DRIPPER)ชนิดชดเชยแรงดันคุณภาพสูง เทคโนโลยีระบบการจ่ายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรประเภทต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ จะหยดน้ำลงในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการจ่ายน้ำของหัวน้ำหยดในอัตราการหยดของน้ำอย่างสม่ำเสมอ ที่ 2-10 ลิตรต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 1-2 บาร์ เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ เพราะช่วยการไหลของน้ำไม่ให้ไปสะสมในพื้นที่ต่ำ ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเท่ากัน สามารถติดตั้งไว้ใช้งานได้ในระยะยาว  มีจุดเด่นที่หัวถอดล้างได้           ส่วนอีกแบรนด์ คือ อีเดน (Eden) เป็นหัวน้ำหยดแบบถอดล้างไม่ได้ เหมาะสำหรับไม้ผลและงานโรงเรือน เช่น องุ่น ไม้กระถาง เป็นต้น   

ในด้านข้อคิดในการเลือกและการใช้ระบบท่อน้ำหยด และหัวน้ำหยด  คุณภูวนิตย์  จีนะวงษ์ กล่าวว่า  “เกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดด้วย เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตรต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 1.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน เป็นต้น การวางระบบท่อน้ำหยด ควรติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ซึ่งสามารถนำไปวางติดตั้งได้ทั้งใต้ดินพลาสติกคลุมดิน หรือวางบนดิน การติดตั้งท่อน้ำหยดใต้ดินจะมีความยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายมากกว่าบนดิน ผลที่ได้ตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่าลดปัญหาวัชพืชและหน้าดินร่วน คงสภาพได้ดีกว่า สามารถใช้ทรัพยากรน้ำได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนสำคัญในการติดตั้งระบบน้ำหยด คือ การติดตั้งเครื่องกรองน้ำ เพื่อป้องกันการอุดตันจากตะกอนที่มาติดหัวน้ำหยด การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำหยดช่วยให้พืชได้รับอาหารและแร่ธาตุสม่ำเสมอตามความต้องการในแต่ละช่วงอายุพืชดูดไปใช้ได้ทันที ทำให้พืชเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และควบคุมการให้ผลผลิตนอกฤดูได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการระบาดของโรคพืช วัชพืช ลดต้นทุน ลดการปนเปื้อนสารเคมี

การบริหารจัดการระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ คือ 1.การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด 2.การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม 3.การวางแผนการบำรุงรักษา เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดี

บริการก่อนและหลังการขาย บริษัท เบสซอ เอ็นจิเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นแหล่งรวมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ โดยทีมงานคุณภาพลงสำรวจสถานที่ในการหาข้อมูล และวางแผนการบริหารจัดการน้ำ การติดตั้งวางระบบ ตลอดจนบริการหลังการขายในการให้คำแนะนำดูแลรักษาที่ดี การป้องกันและการแก้ไขปัญหาในแปลงเกษตรอีกด้วย www.bessaw.com  และขอคำปรึกษาได้ที่ 02-954-3120-6

 

PR AGENCY: บ.เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (BrainAsia Communication)

Tel.02-911-3282 (5 Auto Lines)    Fax 02-911-3208

Email: brainasia@hotmail.com