รายงานสภาวะตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ปีประวัติศาสตร์แห่งการเปิดตัวคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ

FLASH SALE
ฝากข่าว โดย :

รายงานสภาวะตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพ ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดระบุว่า มีจำนวนการเปิดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ล้ำหน้าตัวเลขของ มีการเปิดตัวห้องกว่า 20,000 ยูนิตทั่วกรุงเทพและปริมณฑล และยอดรวม อยู่ที่ 60,000 ยูนิต สูงถึงจุดที่กังวลว่าจะเกิดอุปทานฟองสบู่ นอกจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งออกมาตรการควบคุมอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันที่ 90% เพื่อให้ตลาดชะลอตัวลง แต่นายแอนโทนี พิคอน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัยบริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Colliers International Thailand) ชี้แจงว่าเป็นการวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ “แม้ว่าปี 2553 จะน่าตื่นตาตื่นใจกว่าช่วงสองถามปีที่ผ่านมา แต่เพียงเพราะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจาะลูกค้าในกลุ่มระดับรายได้ที่เคยถูกละเลย และในปี 2554 นี้ยังคงมีแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในทิศทางนี้” นายแอนโทนีย้ำ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา นายแอนโทนีระบุว่าการซื้อเริ่มชะลอตัวลงบ้างเนื่องจากผู้ซื้อเริ่มดูหลายๆแห่งเพื่อหาห้องที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยุคทองที่โครงการใหม่ขายหมดภายในวันเดียวนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว อย่างไรก็ตามการเปิดตัวโครงการใหม่จะค่อยๆ น้อยลงในช่วงไตรมาสที่กำลังจะมาถึง “นอกจากนั้นแล้ว นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังคงต้องให้ความสำคัญกับโครงการที่พวกเขาเปิดตัวไปแล้ว” เขาย้ำ

นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทคอลลิเออร์สฯชี้ว่า พื้นฐานของตลาดยังคงแข็งแกร่งอยู่ “บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงยังคงครองตลาด แต่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่ไม่ใช่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เริ่มก้าวสู่ตลาดขนาดเล็กกว่าซึ่งทำให้ตลาดมีการแข่งขัน อันเป็นประโยชน์ต่อตลาด” นายปฏิมายังเชื่อมั่นในตลาดคอนโดมิเนียม “ประชากรในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับรายได้ ดังนั้นอุปสงค์ในอนาคตยังคงมีมากพอที่จะรองรับการขยายตัวของตลาด แม้ว่าชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2553 ก็ตาม” นายปฏิมากล่าวย้ำ

แม้ว่าเส้นทางการขนส่งมวลชนจะเป็นปัจจัยหลักในตลาดคอนโดมิเนียม แต่ก็ไม่ได้สวยหรูดูดีไปหมด ฝ่ายวิจัยบริษัทคอลลิเออร์สฯระบุว่า โครงการที่อยู่ในรัศมี 200 เมตรจากสถานีได้ส่วนเพิ่มราคาสูง อีกทั้งยอดซื้อล้นหลาม แต่หากระยะทางไกลกว่านั้นจะได้รับประโยชน์ในการตั้งราคาลดลง และการซื้อก็ช้าลงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 200 – 500 เมตร นายแอนโทนีชี้ให้เห็นถึงความต้องการในการใช้บริการการเดินทางเพื่อเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ระบบที่ผู้เดินทางเดินทางจากบ้านไปยังสถานีขนส่งมวลชนในกรณีที่ลำบากเกินกว่าจะเดินถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางอากาศร้อนในกรุงเทพฯ “ถ้าคุณต้องเดินทางจากสถานีไกลเกิน 200 เมตรก็คงต้องเดินทางด้วยวิธีอื่น” เขาอธิบาย นายแอนโทนีกล่าวว่า ผลการวิจัยระบุว่า มอเตอร์ไซค์เป็นวิธีการที่ผู้เดินทางชอบใช้แต่เห็นว่าแพง ค่อนข้างอันตรายและปกป้องจากสภาพอากาศไม่ได้ ส่วนสองแถวนั้นไม่สะดวกสบายและหายาก นายแอนโทนีแนะนำว่าวิธีการหนึ่งในอนาคตได้แก่ การพัฒนาสถานีขนส่งมวลชนที่เป็นฮับย่อยหรือสำหรับการเดินทางเพื่อเชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนซึ่งช่วยให้การเดินทางไปกลับระหว่างคอนโดมิเนียมกับสถานีมีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านบริการรถรับส่งหรือแม้แต่รถรางระยะสั้น “ระบบรถรับส่งอาจเป็นองค์ประกอบย่อย ทำหน้าที่ให้บริการด้านการเดินทางเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัย” เขาเสริม