ทรัพยากรธรณี หิน แร่ และ ธรณีวิทยา กับชีวิตประจำวัน

FLASH SALE
ฝากข่าว โดย :

ทรัพยากรธรณี กับชีวิตประจำวัน

ทรัพยากรธรณี

เราได้เรียนรู้ถึง ธรณีวิทยา กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติสาสตร์ ในเรื่อง “ย้อนยุคกับธรณี ตอนที่ 1 และ 2” กันมาบ้างแล้ว วันนี้ คุณสมศักดิ์ โพธิสัตย์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทรัพยากรธรณี โดยเฉพาะ หิน ดิน แร่ธาตุ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเลียม ได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ชาติเพิ่มมากขึ้น อย่างมากมายในยุคต่อ ๆ มา โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน

แต่จะขอสรุปย่อ ๆ ต่อจากจาก “ยุคเหล็ก”แล้วนำเข้าสู่บทบาทของทรัพยากรธรณี กับชีวิตประจำวันในสมัยปัจจุบันกันเลย

ทรัพยากรธรณี ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ตามวิวัฒนาการของชีวิต สมอง และประสบการณ์ของมนุษย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเรียนรู้ การขุดหา การแปรรูป และการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้นำไปสู่การผลิตและการใช้ประโยชน์ ที่มีปริมาณมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากชุมชนสู่ชุมชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อโลก และ มนุษย์ชาติอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ภายหลังจากการค้นพบเทคโนโลยีการใช้ไฟที่อุณหภูมิสูงมากๆ และนำมาใช้ในการหลอมแร่เหล็กได้ ซึ่งในสมัยแรก ๆ ก็ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เหล็ก มาใช้ในงานเกษตรกรรม แล้วพัฒนาไปสู่การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรม จนกระทั่ง เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ตั้งแต่ ค.ส.1760

โดยเริ่มจากการคิดประดิษฐ์กี่กระตุก เครื่องปั่นด้ายและเครื่องทอผ้า และหลังจากนั้นก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อ เจมส์ วัตต์ นำเหล็กมาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ เมื่อปี ค.ส.1786 ทำให้เกิดการปฏิวัติการคมนาคมขนส่งและการเคลื่อนย้าย คน ผลผลิตทางเกษตร และอุตสาหกรรม จากรถไฟ รถยนต์ เครื่องบิน ไปจนถึงยานอวกาศในยุคปัจจุบัน
แร่ธาตุ หิน , แร่

ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียม

มนุษย์จึงจำเป็นต้องแสวงหาเชื้อเพลิงธรรมชาติมาใช้เพิ่มขึ้นทั้ง ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียม อันนำไปสู่การผลิตกระแสไฟฟ้า การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมอื่น ๆ จนถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เป็นผลจากการนำก๊าซธรรมชาติมาแยกชนิดของก๊าซ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ในด้านพลังงาน เช่น เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้กับรถยนต์ (NGV,NGL,LPG) ใช้ผลิตพลาสติกต่าง ๆ เช่น PVC และ PE ฯลฯ และชนิดอะโรเมติกส์สำหรับผลิตพลาสติกจำพวก ABS สำหรับทำเครื่องโทรทัศน์ ตัวเครื่องโทรศัพท์ หมวกกันน๊อก ทินเนอร์ ยาฆ่าแมลง เส้นใย เส้นด้าย ขวดและถุงพลาสติก ฯลฯ
อันนำไปสู่ยุคของการล่าอาณานิคม และสงครามโลกถึงสองครั้งในอดีต ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุคของการล่าแหล่งพลังงานปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ทั้งบนบกและในทะเล ทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องดินแดน และน่านน้ำมหาสมุทรตามที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้
ทรัพยากรธรณี โบสถ์วิหาร
ในขณะเดียวกันก็มีวิวัฒนาการ ด้านการนำหินชนิดต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารสถานที่ โบสถ์วิหาร ถนนหนทาง สถาปัตยกรรม และศิลปะวิทยาการต่าง ๆ จำนวนมาก ดำเนินไปพร้อม ๆ กัน และพัฒนาอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการตัดหินก่อสร้าง ให้ป็นก้อนเหลี่ยมรูปทรงเลขาคณิต ที่เรียกว่า Dimensim stone ใช้ในการก่อสร้างทั้งขนาดใหญ่ เช่น ปิระมิด แห่งอียิปต์ นครวัต นครธม ในกัมพูชา หรือที่ใกล้ๆ ตัว คือ ปราสาทหินต่าง ๆ ในภาคอีสานของไทย เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นต้น

ซึ่งมีความสุดยอดทั้งทางด้านวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม สิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก เช่น อาคารสถานที่ต่าง ๆ และที่อยู่อาศัย โดยเฉาพะที่ปรากฏในประเทศแถบทวีปยุโรป หินที่นิยมใช้มี หินทราย หินแกรนิต หินปูน หินอ่อน หินบะซอลต์ ศิลาแลง และหินที่มีสีสันลวดลายสวยงาม เช่นหินเซอร์เพนติไนต์ บะซอลติก แอนดีไซน์ แกรนิตสีชมพู มาทำส่วนที่เป็นเสาคอลัมน์ หน้าจั๋ว หน้าบรรณ คานประตูหน้าต่าง ฯลฯ เป็นต้น

นอกจากนั้นยังใช้หินบด หรือหินอ่อน (Crushed Stone) ซึ่งโดยมากมักใช้หินปูน เพื่อใช้ในการก่อสร้างอื่น ๆ เช่น ถนน ทางรถไฟ ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ และ เสริมเหล็กเส้นคอนกรีตในการสร้างที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม ทางยกระดับ อุโมงค์รถไฟใต้ดิน เป็นต้น
ในตอนหน้าเราจะดูกันสิว่า ทรัพยากรธรณีมีบทบาทในชีวิตประจำวัน ในเรื่องของปัจจัย 4 กันอย่างไรกันบ้าง ?

สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย
ทรัพยากรธรณี ในชีวิตประจำวัน
สนับสนุนข้อมูลโดย
สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย

Related Posts