ขจัดความเหลื่อมล้ำและส้รางความเป็นธรรมทางสังคม

FLASH SALE
ฝากข่าว โดย :

IMG_1693 (Small)

 

           ในงาน”สปช. รายงานประชาชน:เปลี่ยนประเทศไทยกับสปช.” จัดโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ เดินหน้าปฏิรูป ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้พี่น้องคนไทยทุกคนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง รวดเร็ว ไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพสร้าง “ความตื่นรู้” ให้แก่ประชาชนให้มีความกระตือรือร้น สำนึกรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางเพื่อการจัดการสุขภาพของตนเองและชุมชนร่วมกับคณะทำงานในระดับพื้นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการใช้แพทย์แผนไทยและมีส่วนร่วมในการสืบทอดคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งการบูรณาการหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และภาคประชาคมอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระดับพื้นที่และประเทศ

รศ.พญ.พรพันธุ์บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สุขภาพมีมิติกว้างกว่าการบริการสุขภาพ ทิศทางของการปฏิรูประบบสุขภาพมุ่งเน้นระบบสุขภาพ “สร้างนำซ่อม”ครอบคลุมทั้งการแก้ไขหรือตรากฎหมายใหม่ มาตรการ เครื่องมือบริหารจัดการ ให้ความสำคัญกับมิติสุขภาพในทุกนโยบายสาธารณะ (Health in All Policies)เชื่อมโยงกับการอภิบาลระบบบริหารจัดการระบบการเงินการคลัง และระบบบริการสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับระบบบริการในระดับปฐมภูมิที่อยู่ใกล้ชาวบ้าน ใช้พื้นที่เป็นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลางมีการเชื่อมโยงบริการในแต่ละระดับอย่างไร้รอยต่อบูรณาการด้วยทีมหมอประจำครอบครัวเพิ่มคุณภาพและการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง มีระบบส่งต่อที่เป็นกัลยาณมิตร เสริมด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีการทำงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชนเข้าด้วยกัน มีการใช้การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยในระบบบริการตามบริบทของพื้นที่
IMG_3731 (Small)

อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างเสริม ป้องกัน ขจัดภัยคุกคามด้านสุขภาพ ปรับการบริหารโดยจัดตั้งคณะกรรมการประกันสุขภาพแห่งชาติ  เป็นหน่วยงานกลางเพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วม การบริหารกองทุน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกันมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ สามารถสะท้อนปัญหาสุขภาพเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน ภายใต้สร้างความยั่งยืนในระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพครอบคลุมทุกคนบนแผ่นดินไทย

 

พญ.พรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์ (Small)

รศ.นพ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า การปฏิรูปกลไกการอภิบาลระบบสุขภาพ เป็นส่วนเกื้อหนุน การปฏิรูปในภาพรวม โดยถักทอสานพลังทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ให้มีความสมดุล ครอบคลุมทั้งการวางแผนการจัดระบบบริการ การคลังสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ โดยมีกลไกระดับชาติ คณะกรรมการกำหนดนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Policy Board) คณะกรรมการสุขภาพเขต (Area Health Board) และคณะกรรมการสุขภาพระดับจังหวัด(Provincial Health Board)กลไกทั้ง ๓ ระดับ จะเชื่อมโยงและหนุนเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน รวมทั้งหนุนเสริมการทำงานคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอ/พื้นที่ (District/Local Health Board) ซึ่งเป็นกลไกส่วนย่อยที่สุดในระดับอำเภอ/พื้นที่

           รศ.พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุขกล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่คาดหวังจากการปฏิรูปครั้งนี้ เพื่อพัฒนา เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศให้มีความความมั่นคงและยั่งยืน ส่งเสริมคุณค่าและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิที่ประชาชนเข้าถึงง่าย และการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน และการพึ่งตนเองได้ของประชาชน เพื่อสร้าง “พลเมือง” ให้มีทักษะ (Hand) มีปัญญา (Head) มีสุขภาวะ (Health) และมีคุณธรรมจริยธรรม (Heart) บนพื้นฐานศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์